บล็อกเกอร์นี้ได้จำทำขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนต์เรื่อง Harry Potter ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจในเรื่อง Harry Potter

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

กีฬาควิดดิช

กีฬาควิดดิช เป็นเกมกีฬาที่ได้รับความนิยมมากในโลกเวทมนตร์ มีการกล่าวถึงครั้งแรกในหนังสือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับ ศิลาอาถรรพ์ โดยถือว่าเป็นกีฬาเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างบ้านพักนักเรียนแต่ละหลัง ซึ่งบ้านที่มักได้รับแชมป์ในการแข่งขัน คือ กริฟฟินดอร์

ควิดดิช จะประกอบไปด้วยผู้เล่นแต่ละทีมจำนวน 7 คน 4 ตำแหน่ง ได้แต่ 3 เชสเซอร์ , 1 บีตเตอร์ , 1 คีปเปอร์ และ 1 ซีกเกอร์ มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่น คือ ลูกบอลจำนวน 4 ลูก ได้แก่ ควัฟเฟิล (ลูกสีแดง) จะใช้ในการทำแต้ม , บลัดเจอร์ (ลูกสีดำ) จะใช้เพิ่มอุปสรรคให้กับผู้เล่น โดยจะสามารถชนกระแทกผู้เล่นให้ตกจากไม้กวาดได้ , และ โกลเด้นสนิช (ลูกสีทองมีปีก) จะใช้ในการทำคะแนนสูงสุดถึง 150 แต้ม และ เมื่อจับได้จะถือว่าสิ้นสุดเกม โดยที่ฮอกวอตส์จะมีการแข่งขันควิดดิชระหว่างบ้านเป็นประจำทุกๆปี

นอกจากนี้กีฬาควิดดิชยังได้รับความนิชมแพร่หลายทั่วโลก ถือว่าเป็นกีฬาสุดฮิตของประชานชนผู้วิเศษ โดยมีการจัดการแข่งขัน Quidditch World Cup โดยแต่ละครั้งจะมีนักกีฬาจากหลากหลายประเทศเข้าร่วมแข่งขัน ( ปรากฎในหนังสือเล่ม 4 ) และ นักกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้คือ วิกเตอร์ ครัม นักกีฬาทีมชาติบัลแกเรีย



กติกาการเล่น และ การทำคะแนน
ในกีฬาควิดดิชนั้น การทำคะแนนถือเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยผู้เล่นในตำแหน่ง เชสเซอร์ จะมีหน้าที่เลี้ยงลูกบอล ควัฟเฟิล ที่มีค่า 10 คะแนน เมื่อสามารถโยนเข้าห่วงใดห่วงหนึ่งของฝ่ายตรงข้ามได้สำเร็จ ซึ่งห่วงดังนั้นจะอยู่บนเสาสามเสาด้วยกัน ดังนั้นแต่ละฝ่ายจะมีห่วงถึง 3 ห่วงที่สามารถทำคะแนนได้ ทั้งนี้การปกป้องการทำประตู หรือ หน้าที่ผู้รักษาประตู จะเป็นหน้าที่ของ คีปเปอร์

ระหว่างการเล่นเกมนั้น อุปสรรคที่สามารถทำให้ผู้เล่นเกิดการบาดเจ็บได้มากที่สุดคือ ลูกบอลบลัดเจอร์ มีหน้าที่ชนกระแทกผู้เล่นให้ตกจากไม้กวาด ส่งผลให้ผู้เล่นในสนามลดลงได้หากเกิดการบาดเจ็บร้ายแรง ดังนั้นแต่ละทีจะมีตำแหน่ง บีตเตอร์ 2 คนเพื่อช่วยป้องกันสมาชิกในทีมจากลูกบอลบลัดเจอร์ ซึ่งบีตเตอร์แต่ละคนจะมีไม้จับถนัดมือสำหรับหวดบลัดเจอร์ ทั้งนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการทำร้ายฝั่งตรงข้ามได้โดยการหวดลูกบลัดเจอร์ ไปที่สมาชิกผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ซึ่งถือว่าไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

สำหรับการทำคะแนนสูงสุดในเกมการแข่งขันสามารถทำได้โดยการจับ ลูกโกลเด้นสนิช ที่มีคะแนนถึง 150 แต้ม โดยหน้าที่นี้จะเป็นหน้าที่ของตำแหน่ง ซีกเกอร์ ซึ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ก็ได้รับตำแหน่งนี้ในทีม กริฟฟินดอร์ การแข่งขันจะสิ้นสุดเมื่อ ซีกเกอร์ จับลูกโกลเด้นสนิชได้เท่านั้น ทั้งนี้การจับลูกโกลเด้นสนิชไม่ได้การันตีว่าทีมที่จับได้จะชนะเสมอไป



ระเบียบข้อบังคับ
ระเบียบข้อบังคับเหล่านี้ ถูกกำหนดไว้โดยกองควบคุมดูแลเกม และ กีฬาเวทมนตร์ Snitch เมื่อการก่อตั้งกองขึ้นใน ค.ศ.1750 เพื่อนใช้เป็นเงื่อนไข และ กติกาในการแข่งขันกีฬาดวิดดิชสากล

สนามการแข่งขันเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 500 ฟุต กว้างประมาณ 180 ฟุต ตรงกลางมีวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ฟุต มีเขตทำคะแนนสำหรับ เชสเซอร์ ในเขตทำคะแนนมี ห่วงข้างละ 3 ห่วง แต่ละห่วงจะมีความสูงต่ำไม่เท่ากัน

ระดับการบินแม้จะไม่มีการกำหนดว่าระดับความสูงใดๆถือว่าผิดกติกา แต่การบินนั้นต้องอยู่ในพื้นที่เขตสนาม หากฝ่ายใดออกนอกเขตสนามถือว่าผิดกติกา ต้องให้ลูกควัฟเฟิลกับฝ่ายตรงกันข้ามทันที

การขอเวลานอกสามารถกระทำได้โดยหัวหน้าทีม หรือ กัปตัน ส่งสัญญาณขอเวลานอกให้กรรมการได้รับทราบ การขอเวลานอกอาจะยืดได้มากถึง 2 ชั่วโมง

ห้ามเท้าของผู้แข่งขันทุกท่านแตะพื้นสนาม เว้นแต่ช่วงขอเวลานอกเท่านั้น ทั้งนี้ผู้แข่งขันสามารถไช้ไม้กวาดยี่ห้อใด , รุ่นใด , แบบใดก็ได้เข้าร่วมการแข่งขัน.

ผู้แข่งขันสามารถแย่งลูกควัฟเฟิล จากมือของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามได้เลย แต่ห้ามแตะต้องส่วนอื่นๆของร่ายกายที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้

ในกรณีผู้เข้าแข่งขันบาดเจ็บจนไม่สามารถเล่นต่อได้ การแข่งขันจะดำเนินต่อไปโดยไม่มีการเปลี่นยนตัวเป็นผู้เล่นสำรอง

ผู้วิเศษทุกท่านสามารถนำไม้กายสิทธิ์ติดตัวเข้าไปในสนามกีฬาได้ แต่กระนั้นในช่วงที่อยู่ในสนาม ห้ามผู้วิเศษใช้ไม้กายสิทธิ์กับนักกีฬา , ไม้กวาดที่ใช้ในการแข่งขัน , กรรมการ , ลูกบอล และ คนดู

เกมการแข่งขันควิดดิช จะยุติได้ก็ต่อเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถจับลูกโกลเด้นสนิชได้ หรือ อาจเป็นไปด้วยความยินยอมพร้อมใจของกัปตันทีมทั้ง 2 ฝ่าย



ลักษณะการกระทำผิด
Blagging - การคว้าปลายไม้กวาดของฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้บินได้ช้า หรือขัดขวางการเล่น
Blatching - ผู้แข่งขันตั้งใจบินไปชนอีกฝ่ายหนึ่งโดยตรง
Blurting - ผู้แข่งขันใช้ไม้กวาดงัดไม้กวาดฝ่ายตรงข้าม ดันให้กระเด็นออกไปนอกทาง
Blumphing - บีตเตอร์หวดบลัดเจอร์ไปทางคนดู ทำให้ต้องหยุดการแข่งขันชั่วขณะ
Cobbing - ผู้แข่งขันใช้ข้อศอกอย่างรุนแรง กับ ฝ่ายตรงข้าม
Flacking - คีปเปอร์ยื่นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายผ่านห่วงประตูเข้าไปเพื่อสกัดลูกควัฟเฟิล
Havesacking - เชสเซอร์จับลูกควัฟเฟิลเข้าประตูโดยตรง (การทำประตูต้องโยนเท่านั้น )
Quafflepocking - เชสเซอร์ ทำการดัดแปลงลูกควัฟเฟิล เพื่อส่งผลที่ปิดเพี้ยนไปจากเดิม
Snitchnip - ผู้แข่งขันคนอื่นนอกจากซีกเกอร์ ห้ามแตะต้องลูกสนิช
Stooging - เชสเซอร์มากกว่า 1 คน เข้าไปในเขตทำคะแนนไม่ได้


กีฬาควิดดิชในปัจจุบัน
กีฬาควิดดิชยังคงทำให้แฟนๆตื่นเต้นเร้าใจและคลั่งไคล้ไปทั่วโลกปัจจุบัน รับประกันได้ว่าคนที่ซื้อตั๋วดูการแข่งขันควิดดิชทุกคนจะได้เห็นการแข่งขันที่มีชั้นเชิงสูง ระหว่างผู้เล่นที่บินอย่างเชี่ยวชาญยิ่ง (แน่นอน ยกเว้นแต่ว่าจะจับลูกสนิชได้ในห้านาทีแรกของการแข่งขัน ถ้าเป็นเช่นนี้พวกเราทุกคนคงรู้สึกว่าถูกโกงหน่อยๆ เหมือนได้รับเงินทอนไม่ครบทำนองนั้น) ไม่มีอะไรจะพิสูจน์ความดีเด่นของเกมควิดดิชได้ดีไปกว่าท่าเล่นยากๆ ที่บรรดาผู้เล่นพ่อมดแม่มดทั้งหลายสร้างสรรค์ขึ้นมาตลอดในประวัติศาสตร์อันยาวนานของกีฬานี้ พ่อมดแม่มดเหล่านี้กระตือรือร้นที่จะสร้างท่าเล่นยากๆ เพื่อผลักดันผู้เล่นและกีฬานี้ให้ดีขึ้นเท่าที่พวกเขาจะสามารถทำได้ ต่อไปนี้คือ ท่าเล่นพิสดารบางทาที่ยกมาเป็นตัวอย่าง

บลัดเจอร์ แบ็กบีต (Bludger Backbeat)
เป็นท่าที่บีตเตอร์ตีลูกบลัดเจอร์ด้วยไม้ตีในท่าแบ็กแฮนด์ ส่งลูดบลัดเจอร์ลอยไปข้างหลังเขาหรือเธอ แทนที่จะไปข้างหน้า ท่านี้ตีให้เที่ยวตรงแม่นยำได้ยาก แต่ดีเลิศในแง่ทำให้คู่ต่อสู้งุนงง

ด๊อปเปิ้ลบีตเตอร์ ดีเฟนซ์ (Dopplebeater Defence)
บีตเตอร์ทั้งสองคนใช้แรงมากเป็นพิเศษตีลูกบลัดเจอร์พร้อมกัน ผลคือในการรุกครั้งต่อไป ลูกบลัดเจอร์จะโจมตีอย่างดุเดือดรุนแรงมากขึ้นไปอีก

ดับเบิ้ล เอต ลูป (Double Eight Loop)
เป็นท่าป้องกันของคีปเปอร์ ปกติมักใช้ป้องกันการโยนลูกโทษ คีปเปอร์จะบินเลี้ยวโค้งเป็นรูปเลขแปดไปรอบๆห่วงประตูทั้งสาม ห่วงด้วยความเร็วสูงเพื่อคอยกันลูกควิฟเฟิล

ฮอกส์เฮด อะแทกกิ้ง ฟอร์เมชั่น (Hawkshead Attacking Formation)
เชสเซอร์มารวมตัวกันทำเป็นรูปหัวลูกศร บินไปพร้อมๆกันมุ่งไปที่เสาประตู ท่านี้ข่มขวัญทีมคู่ต่อสู้ได้มาก และมีประสิทธิภาพในการบังคับให้ผู้เล่นอื่นต้องบินหลบไปข้างๆ

พาร์กินส์ พินเชอร์ (Parkin's Pincer)
ตั้งชื่อตามผู้เล่นในทีมวิกทาวน์ วันเดอเรอส์ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนประดิษฐ์ท่านี้ขึ้นมา เชสเซอร์สองคนช่วยกันบินเข้าไปบีบเชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามจากด้านซ้ายและขวา ชณะที่เชสเซอร์คนที่สามบินพุ่งตรงเข้าไปหาเชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามนั้น

พลัมป์ตัน พาส (Plumpton Pass)
เป็นท่าเลี้ยวโค้งหมุนตัวที่ดูเหมือนไม่ได้ตั้งใจทำของซีกเกอร์ แต่สามารถคว้าจับลูกสนิชที่ลอยอยู่ที่แขนเสื้อไว้ได้ นับเป็นทีเด็ดอย่างหนึ่ง ตั้งชื่อตามรอดดริก พลัมป์ตัน ซีกเกอร์ของทีมทัดชิล ทอร์เนโดส์ ที่ใช้ท่านี้ในการจับลูกสนิชที่โด่งดังเป็นประวัติการณ์ในค.ศ.1921 แม้ว่านักวิจารณ์หลายคนจะกล่าวหาว่าที่เขาทำได้นั้นเป็นเรื่องบังเอิญ แต่พลัมป์ตันยืนกรานจวบจนเขาถึงแก่กรรมว่าเขาตั้งใจทำท่านั้นจับลูกสนิชจริงๆ

พอร์สคอฟ พลอย (Porskoff Ploy)
เชสเซอร์ถือลูกควิฟเฟิลบินทะยานขึ้นไปในอากาศ ล่อให้เชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามเชื่อว่าเขาหรือเธอกำลังพยายามบินหนีไปทำคะแนน แต่แล้วก็โยนควัฟเฟิลลงมาข้างล่างให้เชสเซอร์ทีมเดียวกันที่คอยรับอยู่ เชสเซอร์ทั้งสองต้องกะจังหวะเวลาให้ตรงกันพอดี นี่เป็นหัวใจของท่านี้ ตั้งชื่อของเพ็ตโทรว่า พอร์สคอฟ เชสเซอร์ชาวรัสเซีย

รีเวิร์ส พาส (Reverse Pass)
เชสเซอร์โยนลูกควิฟเฟิลข้ามไหล่ของตนไปให้ผู้เล่นทีมเดียวกันอีกคน การโยนให้ได้แม่นยำนั้นทำได้ยากมาก

สล็อท กริป โรลล์ (Sloth Grip Roll)
ห้อยกลับหัวจากไม้กวาด ยึดไม้กวาดไว้แน่นด้วยมือและเท้าสองข้างเพื่อหลบหลีกลูกบลัดเจอร์

สตาร์ฟิชแอนด์สติ๊ก (Starfish and Stick)
เป็นท่าป้องกันของคีปเปอร์ โดยคีปเปอร์ถือไม้กวาดในแนวนอน ใช้มือและเท้าข้างหนึ่งเกี่ยวจับด้ามไม้กวาดแน่น ในขณะที่กางแขนและขาอีกข้างออกไปตรงๆ (ดูรูป ช.) ท่าปลาดาวแต่ไม่มีไม้นั้นไม่ควรลองทำอย่างยิ่ง

ทรานซิลเวเนียน แท็กเคิล (Transylvianian Tackle)
เป็นท่าต่อยหลอกๆเล็งไปที่จมูก ไม่ถือว่าผิดกติกาจนกว่าจะสัมผัสกันจริงๆ แต่ก็หยุดได้ยากมากเมื่อทั้งสองฝ่ายอยู่บนไม้กวาดที่มีความเร็วสูง ปรากฎครั้งแรกในควิดดิชเวิลด์คัพ ค.ศ.1473

วูลลองกอง ชิมมี่ (Woollongong Shimmy)
เป็นท่าที่ทีมวูลลองกอง วอร์ริเออส์ จากออกเตรเลียทำได้สมบูรณ์แบบมาก นี่เป็นท่าบินซิกแซ็กด้วยความเร็วสูง เพื่อสลัดเชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามไม่ให้ติดตามได้

รอนสกี้ เฟนต์ (Wronski Feint)
ซีกเกอร์บินข้างสิ่งกีดขวางไปที่พื้นสนาม ทำเป็นว่าเห็นลูกสนิชอยู่ไกลๆข้างล่าง แล้วเชิดหัวไม้กวาดขึ้นก่อนจะดิ่งลงไปกระแทกพื้น ท่านี้ตั้งใจหลอกให้ซีกเกอร์อีกฝ่ายทำตามจนดิ่งไปกระแทกพื้น ตั้งชื่อว่าโจเซฟ รอนสกี้ ซีกเกอร์ชาวโปแลนด์

ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าควิดดิชได้เปลี่ยนไปมาก จากที่เคยได้รู้เมื่อครั้งที่เกอร์ตี้ ค็ดเดิลเห็น 'พวกกะโหลกทึบ' เล่นกันที่หนองน้ำเควียดิช บางทีถ้าเกอร์ตี้มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เธอเองก็อาจจะตื่นเต้นเร้าใจไปกับบทกวีและพลังของเกมควิดดิชเหมือนกัน ขอให้กีฬานี้จงพัฒนาก้าวหน้าต่อไปอีกนานเท่านาน และ ขอให้พ่อมดแม่มดรุ่นต่อไปในอนาคตได้สนุกนานเพลิดเพลินกับกีฬาที่วิเศษที่สุดนี้ชั่วกาลนาน


ข้อมูลจากหนังสือ ควิดดิชในยุคต่างๆ (ฉบับภาษาไทย)
หนังสือเล่มนี้พิมพ์โดย สำนักพิมพ์ นานมีบุ๊คส์ ตอนนี้ไม่มีจำหน่ายแล้วนะครับ และ ยังไม่มีโครงการจะจัดพิมพ์จำหน่ายเพิ่มเติมในอนาคตด้วยครับ.

บทที่ o - คำนิยม
บทที่ o - เกี่ยวกับผู้เขียน
บทที่ o - คำนำ
บทที่ 1. วิวัฒนาการของไม้กวาดบิน
บทที่ 2. การละเล่นด้วยไม้กวาดในสมัยโบราณ
บทที่ 3. การละเล่นจากหนองน้ำเควียดิช
บทที่ 4. ลูกสนิชสีทองปรากฏโฉม
บทที่ 5. การเตรียมตัวสกัดกั้นพวกมักเกิ้ล
บทที่ 6. การเปลี่ยนแปลงในกีฬาควิดดิชตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 14
บทที่ 7. ทีมควิดดิชในเกาะบริเตนและไอร์แลนด์
บทที่ 8. การแพร่กระจายของกีฬาควิดดิชไปทั่วโลก
บทที่ 9. พัฒนาการของไม้กวาดแข่ง
บทที่ 10. กีฬาควิดดิชในปัจจุบัน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนนี้ : โรงเรียนเวทมนตร์ศาสตร์ , การ์ดผู้ก่อตั้ง , บ้านพักนักเรียน , ทีมควิดดิช , หนังสือควิดดิชในยุคต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น